ทำความเข้าใจกับอาการตื่นสนามของนักบอลหน้าใหม่ นพพร นพวงศ์, กันยายน 15, 2017กันยายน 13, 2017 การตื่นสนามประกอบด้วยสององค์ประกอบ คือ ความตื่นเต้นหมายถึง การแสดงอาการที่ไม่ค่อยจะปรากฏให้เห็น เช่น ความประหม่า เพราะไม่เคย ไม่พร้อมหรือตื่นตัว ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อการแข่งขันและประสิทธิภาพในการใช้ ทักษะต่าง ๆที่อาจจะเกิดความผิดพลาด และความกลัว หมายถึง การแสดงอาการรู้สึกหวาดหวั่น หวาดกลัวถึงความพ่ายแพ้ กลัวเจ็บหรือกลัวอันตราย ทำให้กำลังใจในการแข่งขันของทีม และผลการเล่นของทีมเสียไป ซึ่งความตื่นเต้น มักจะเกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน จนกระทั่งเริ่มแข่งขัน แต่จะเริ่มลดลงเมื่อเริ่มแข่งขัน ความตื่นเต้นจะปรากฎอาการสำคัญบางอย่าง เช่น ตัวสั่น แขนขามือสั่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก เสียงแข็ง สั่นเครือ ปากแท้ง ทำอะไรมักจะผิดพลาด โค้ชควรจะใช้วิธีลดความตื่นเต้นโดยการเรียกนักบอล หรือเตือนสติอย่าให้เหม่อลอย ซึ่งมีวิธีการที่ต่างกันไป เช่น อาจจะใช่วิธีการนวดร่างกาย การวอร์ม การพูดคุยระหว่างผู้เล่นด้วยกัน การแข่งตามสบายตามแผนที่เคยฝึกซ้อม ไม่ต้องสนใจกับเสียงเชียร์ ส่วนการแก้ไขการตื่นสนามระยะยาวนั้น อาจกระทำโดยการเล่นกับคู่ต่อสู้ในบางครั้งเพื่อทำความคุ้นเคยกับสนามแข่งขัน แล้วให้โค๊ชชี้แนะข้อบกพร่องที่ ควรแก้ไขหรือให้สังเกตการเล่นของทีมอื่น ๆ ส่วนความกลัวนั้นจะเป็นความกังวลในจิตใจ เช่น กลัวแพ้ กลัวเล่นไม่ดี กลัวอันตราย บาดเจ็บ กลัวเพื่อนร่วมทีม กลัวโค้ช หรือกลัวคนดู กลัวเสียงเชียร์ ซึ่งความกลัวจะเกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน และจะทำให้ ไม่เข้าปะทะ สมรรถภาพทางกายลดลง หรืออาจจะกลัวการบาดเจ็บ เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บอยู่แล้ว ในกรณีเช่นนี้หากไม่จำเป็น โค้ชควรเปลี่ยนตัวนักบอลที่บาดเจ็บออกมา พักเพื่อป้องกันไม่ให้การบาดเจ็บเพิ่มขึ้น กีฬา บอล
กีฬา การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการเล่นฟุตบอล สิงหาคม 11, 2017สิงหาคม 1, 2022 การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะต้องรฝึกโดยใช้น้ำห… Read More
กีฬา เบื้องหลังความสำเร็จฟุตบอล ธันวาคม 26, 2017สิงหาคม 1, 2022 นักกีฬาเล่นได้ดีเพราะมีกำลังใจสำคัญจากคนทั้งประเทศ… Read More
กีฬา ราคาบอล คืออะไร หัดแทงบอลต้องรู้ก่อนเล่นทำเงินได้ง่ายๆ พฤษภาคม 12, 2020สิงหาคม 2, 2022 ปัจจุบันการฟุตบอลออนไลน์ เป็นเกมการเดิมพันที่ทำให้… Read More